นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น

บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย มีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ โดยไม่ยินยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นใดๆ ทั้งนี้ บริษัทและบริษัทย่อยได้มีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและบริษัทย่อย ไม่ให้มีการเรียกร้อง ยอมรับผลประโยชน์อื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ อาจทำให้บริษัทและบริษัทย่อยเสียประโยชน์ในที่สุด นอกจากนี้บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายไม่สนับสนุนการให้สินบนอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ บริษัทและบริษัทย่อยได้ทำการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ หากมีการฝ่าฝืนต้องได้รับบทลงโทษทางวินัย ตามระเบียบของบริษัท

บริษัทฯ ได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาให้เข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558

คำนิยามตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น

คอร์รัปชั่น (Corruption) หมายถึง การติดสินบน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ โดยการเสนอให้สัญญา มอบให้ ให้คำมั่น เรียกร้อง หรือ รับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือเเนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มา หรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้

นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น

ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยดำเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงธุรกิจในทุกประเทศ บริษัทย่อย บริษัทร่วม และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวทางปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  1. คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น และปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
  2. คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
  3. ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คณะจัดการและผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ ธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
  4. ผู้ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ อำนาจดำเนินการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมายข้อกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสม และเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

แนวการปฏิบัติ

  1. กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทุก ระดับ รวมทั้งบริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่นที่มีอำนาจในการควบคุม และตัวแทนทางธุรกิจของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นและ จรรยาบรรณของบริษัท โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชั่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ปฏิบัติ หน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยความซื่อสัตย์สุจริตบนพื้นฐานของ การมีจรรยาบรรณ ตลอดจนธำรงไว้ซึ่งแนวทางการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส สุจริตและเป็นธรรม โดยบริษัทมี ช่องทางการสื่อสารนโยบาย เช่น ประกาศ อีเมลล์ เว็บไซต์ของบริษัทและอื่นๆ นอกจากนี้ได้จัดให้มีการ ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นดังกล่าวด้วย เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาต่อไป
  2. ในการดำเนินธุรกิจ มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบกระบวนการทำงาน สายบังคับบัญชาที่ชัดเจน ในแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกันอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันหรือลดโอกาสในการ ทุจริตคอร์รัปชั่น และเพื่อให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืน
  3. คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน มีการดำเนินการโดยใช้หลักการตรวจสอบ และสอบทาน ให้บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเพียงพอสอดคล้องกับนโยบาย และข้อกำหนดที่ เกี่ยวข้อง โดยในการดำเนินการจะเน้นที่ความเสี่ยงซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากการทุจริต และการหา ผลประโยชน์ในหน้าที่โดยมิชอบ โดยมีการประเมินและตรวจสอบอย่างเหมาะสม
  4. พนักงานบริษัท ไม่ละเลย หรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบ ทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามให้ปรึกษากับ ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามจรรยาบรรณบริษัทผ่าน ช่องทางต่างๆ ที่กำหนดไว้
  5. บริษัทได้กำหนดนโยบายการรับแจ้งข้อมูลหรือข้อร้องเรียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร กรณีพบเหตุการณ์การ กระทำที่ส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของบุคคลรวมถึงบริษัท ผู้แจ้งเบาะแสสามารถแจ้งเบาะแสหรือ ข้อร้องเรียนมาได้ทาง อีเมลล์ ifecgroup99@gmail.com หรือทางโทรศัพท์เบอร์โทร 02-1681378-86 หรือ ทางไปรษณีย์มายังคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เลขที่ 33/4 อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ ชั้น 29 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้แจ้งเบาะแส บริษัทมีกลไกในการคุ้มครอง ผู้แจ้งเบาะแส โดยให้ถือเป็นนโยบายในการเก็บความลับข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแส
  6. บริษัทและบริษัทย่อย ให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือเเจ้งเรื่องคอร์รัปชั่น โดยใช้ มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน ตามที่กำหนดไว้ใน Whistleblower Policy บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายที่ จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้ บริษัทและบริษัทย่อยสูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
  7. บริษัทและบริษัทย่อย ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทย ในการต่อต้านคอร์รัปชั่นและได้มีการสื่อสาร นโยบายนี้ต่อบุคคลภายนอกผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ประกาศ อีเมลล์ เว็บไซต์ของบริษัทและอื่นๆ
  8. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ที่กระทำการคอร์รัปชั่น เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณบริษัทและบริษัทย่อย ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจได้รับโทษตามกฎหมาย หาก การกระทำนั้นผิดกฎหมาย
  9. บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องกับบริษัทและบริษัทย่อย หรืออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัท ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้
  10. บริษัทและบริษัทย่อย มุ่งมั่นที่จะสร้างรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่า คอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและเอกชน

ข้อกำหนดในการดำเนินการ

  1. นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ต้องครอบคลุมไปถึงกระบวนการบริหารงานบุคคล ตั้งเเต่การสรรหาหรือการคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนตำเเหน่ง การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน และการให้ผลตอบแทน โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจ ที่อยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การดำเนินการใดๆ ตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กำหนดใว้ในคู่มือจรรยาบรรณและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานของบริษัท การกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายและเเนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ รวมทั้งระเบียบ และคู่มือปฏิบัติงานของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอื่นใดที่จะกำหนดขึ้นต่อไป
  3. มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เรื่องการปฏิบัติตามจรรยาบรรณและการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ รวมถึงการสื่อสารอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการเป็นประจำทุกปี โดยมุ่งเน้นการรักษามาตรฐานและพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดี และสร้างให้การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนกำหนดแนวการติดตามและประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม
  4. คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดนโยบายด้านการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงกำหนดบทลงโทษกรณีที่ฝ่าฝืนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในคู่มือจรรยาบรรณและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานของบริษัท เช่น แนวปฏิบัติในการรับของขวัญหรือผลประโยชน์ของพนักงาน ระเบียบปฏิบัติในการซื้อขายหลักทรัพย์ ระเบียบการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ระเบียบการกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายใน เป็นต้นเพื่อความชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการเกิดคอร์รัปชั่น กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานบริษัททุกระดับจะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องดังต่อไปนี้
    • ของกำนัล การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่าย
      การให้ มอบ หรือรับของกำนัล การเลี้ยงรับรอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในจรรยาบรรณของบริษัท
    • เงินบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน
      การให้หรือรับเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน
    • ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ
      ห้ามให้หรือรับสินบนในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด ในการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย และการติดต่องานกับภาครัฐ ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การทบทวนและปรับปรุงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ANTI CORRUPTION)

คณะกรรมการบริษัทจะทำการทบทวนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ANTI CORRUPTION) เป็นประจำทุกปี และจะเสนอแนะการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามที่เห็นสมควร